![]() |
เข็มทิศการลงทุน |
ชีวิต คือ การลงทุน
ชีวีตของคนเรามีความผูกผันอยู่กับการลงทุนตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัว ที่เป็นเช่นนี้...เพราะเมื่อกล่าวถึงการลงทุน คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนมีความใกล้ชิดกับการดำเนินชีวิตของคนเรามากกว่านั้น หรือจะกล่าวได้ว่า "ชีวิต คือ การลงทุน" ก็คงไม่ผิดนัก เพราะไม่ส่าเราจะทำอะไรต้องลงทุนทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกลงทุนในรูปแบบใด อาจจะด้วยแรงกาย แรงใจ หรือกำลังทรัพย์ก็ได้ อย่างการออกกำลังกายก็ถือเป็นการลงทุนแบบหนึ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดีแล้ว ยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้อีกด้วย หรือการศึกษาเล่าเรียนก็ถือเป็นการลงทุนเพื่อให้มีหน้าที่การงานที่ดี มีรายได้ ตลอดจนความมั่นคงต่อไปในอนาคต
การลงทุนด้วยกำลังทรัพย์หรือการลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยขึ้น เพราะถึงแม้ว่า "เงิน" จะไม่ได้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเรา แต่ในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ หากไม่มี "เงิน" เราก็คงไม่สาใสนถใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเราได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ด้านอื่นๆในชีวิตต้องเสียไปด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องรู้จัก "วิธีการวางแผนทางการเงิน" ที่ถูกต้องตลอดจนรู้จักหนทางในการทำให้เงินที่เรามีอยู่นั้นงอกเงยออกดอกผลขึ้นมา
" 3 รู้ " สู่การลงทุน
ดังที่กล่าวไปในเบื้องต้นแล้วว่า...เราจำเป็นต้องรู้จักวิธีการวางแผนทางการเงินที่ถูกต้อง ตลอดจนรู้จักหนทางในการทำให้เงินที่เรามีอยู้นั้นงอกเงยออกดอกผลขึ้นมา ซึ่งในการวางแผนทางการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย "อิสระภาพทางการเงิน" นั้น มีสิ่งสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจของการวางแผน 3 ประการ
รู้จักตัวเอง ( Know Yourself )
ก่อนการลงทุนใดๆคุณต้องสำรวจหรือถามตัวเองให้แน่ใจเสียก่อนว่ามีเป้าหมายการลงทุนเพื่ออะไร ยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนมากแค่ไหน เพื่อจะได้จัดสรรเงินทุนอย่างเหมาะสมและตรงกับเป้าหมายการลงทุนที่ตั้งเอาไว้
- มีเป้าหมายการลงทุนเพื่ออะไร เช่น เพื่อการศึกษาลูก เพื่อซื้อบ้าน เพื่อซื้อรถยนต์ หรือเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่รัฐบาลมอบให้
- ชอบความเสี่ยงในระดับไหน และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากน้อยเพียงใด เช่น รับความเสี่ยงได้น้อย ปานกลาง หรือมาก
- คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนมากแค่ไหน เช่น ต้องการทำกำไร ต้องการรายได้ประจำ ต้องการรักษาเงินต้นของเงินลงทุน หรือต้องการผลตอบแทนรวม
รู้จักเครื่องมือ ( Know the Vehicles )
การเลือกสินทรพย์ที่จะลงทุนให้เหมาะสมกับความต้องการและความพร้อมในการลงทุนของตนเอง เปรียบเสมือนเครื่องมือนำทางให้การลงทุนของคุณไปสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการได้ ซึ่งปัจจุบันทางเลือกในการลงทุนมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความสลับซับซ้อนที่แตกต่างกันออกไป การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการลงทุนแต่ละประเภทให้เข้าใจ ก็จะช่วยให้คุณสามารถลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รู้จังหวะการลงทุน ( Know the Markets )
เมื่อคุณรู้จักเครื่องมือการลงทุนว่าจะลงทุนในอะไรแล้ว คุณต้องศึกษาถึงปัจจัยต่างๆทั้งด้ารเศรษฐกิจ การเมือง สังคม จิตวิทยามวลชนที่มรอิทธิพลต่อทิศทางของตลาดการเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในภาวะตลาดต่างๆไม่ว่าจะเป็นตลาดหมีหรือตลาดกระทิง หรืออาจจะโยกย้ายเงินลงทุนไปยังทรัพย์อื่นๆที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้อย่างเหมาะสม
ทางเลือกในการลงทุน
ปัจจุบันทางเลือกในการลงทุนมีหลายประเภท แต่ละประเภทต่างก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปทั้งในเรื่องคุณลักษณะสินทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยง และผลตอบแทน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งทางเลือกในการลงทุนออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ
- ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีตัวตน จับต้องได้ เป็นการลงทุนที่สร้างความพึงพอใจหรือความสะดวกสบายในการใช้สินทรัพย์ที่ได้ลงทุนนั้นเป็นหลัก เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ทองคำ อัญมณี ของสะสม ฯลฯ แลบางครั้งก็อาจทำกำไรจากราคาสินทรัพย์ได้ด้วย ซึ่งผลตอบแทนของการลงทุนประเภทนี้จะอยู่ในรูปของกำไรส่วนต่างจากการขายสินทรัพย์
- ลงทุนทำธุรกิจ เป็นการลงทุนที่มุ่งหวังผลกำไรจากการประกอบธุรกิจเป็นหลัก โดยหวังว่าอย่างน้อยกำไรที่ได้รับนั้นต้องสามารถชดเชยความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจได้ ซึ่งผลตอบแทนประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของส่วนแบ่งกำไร เงินปันผล ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่างๆที่เจ้าของกิจการพึงได้รับ
- ลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น หุ้นสามัญ พันธบัตร หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ฯลฯ โดยทั่วไปการลงทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลหรือดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับประเภทของหลักทรัพย์ที่เลือกลงทุน นอกจากนี้ ยังอาจได้รับกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การลงทุนประเภทนี้ผู้ลงทุนต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านออื่นๆที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง หรือสภาวะการแข่งขันในตลาด ฯลฯ ประกอบด้วยเสมอ
ข้อดี ข้อเสีย
สินทรัพย์ที่มีตัวตนจับต้องได้
ข้อดี
- ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ขึ้นอยู่กับแนวโน้มของราคาสินทรพย์นั้นๆ
- สินทรัพย์บางประเภทมีสภาพคล่องสูง เช่น ทองคำ ฯลฯ
ข้อเสีย
- สินทรัพย์บางประเภทมีความเสี่ยงต่อการสูญหาย หรือถูกขโมย
- สินทรัพย์บางประเภทสามารถปลอมแปลงได้ง่าย เช่น เพชร ของสะสม ฯลฯ
- สินทรัพย์บางประเภทมีสภาพคล่องต่ำ เช่น บ้าน ที่ดิน ฯลฯ
ทำธุรกิจ
ข้อดี
- ผลตอบแทนค่อนข้างสูง
- ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆที่เจ้าของกิจการพึงได้รับ
ข้อเสีย
- ผลตอบแทนไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกิจการนั้นๆจึงมีความเสี่ยงสูง อาจถึงขั้นล้มละลายได้
- ต้องลงทุนทั้งแรงกาย แรงใจ และกำลังทรัพย์ค่อนข้างมาก
- การเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการลงทุนยาก
สินทรัพย์ทางการเงิน
ตราสารทุน
ข้อดี
- ผลตอบแทนค่อนข้างสูง
- ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆที่เจ้าของกิจการพึงได้รับ รวมถึงสิทธิในการออกเสียงเพื่อบริหารกิจการ
- มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง
ข้อเสีย
- ผลตอบแทนไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกิจการผู้ออกตราสาร
- ความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ
- ได้รับเงินลงทุนคืนเป็นลำดับสุดท้ายในกรณีที่กิจการผู้ออกตราสารล้มละลาย
ตราสารหนี้
ข้อดี
- ได้รับผลตอบแทนเป็นประจำ และสม่ำเสมอ
- มีความปลอดภัยมากกว่าการลงทุนในตราสารทุน
- กรณีที่กิจการผู้ออกตราสารล้มละลาย จะได้รับเงินที่ลงทุนคืนก่อนเจ้าของกิจการ
ข้อเสีย
- ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก แต่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่นๆ
- ไม่มีสิทธิในการออกเสียงเพื่อบริหารกิจการ
- กรณีที่เป็นหุ้นกู้ภาคเอกชนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ได้
- มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาด
- สภาพคล่องในการซื้อขายต่ำ
กองทุนรวม
ข้อดี
- มีมืออาชีพคอยดูแล และตัดสินใจลงทุนให้
- มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่า
- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- มีสภาพคล่องสูง
- สามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและข้อจำกัดของตนเองได้
ข้อเสีย
- เสียค่าใช่จ่ายในการบริหารจัดการ เช่น ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ
- ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือบริหารจัดการลงทุน
- ไม่ทราบราคาซื้อขายในทันที เพราะราคาซื้อขายจะถูกคำนวณตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ(NAV)ของกองทุนเมื่อสิ้นวันทำการ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุน
เนื่องจากการออมและการลงทุนเป็นพื้นฐานสำคัญของกลไกการขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงใช้ "ภาษี" เป็นตัวกระตุ้นและผลักดันการออมการลงทุน ด้วยการมอบสิทธิปนะโยชน์ต่างๆให้แก่ผู้ลงทุนในรูปแบบต่างๆดังนั้น หากคุณศึกษาและเข้าใจรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ที่รัฐมอบให้ และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวได้อย่างคุ้มค่า คุรสามารถประหยัดภาษีในแต่ละปีได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวกับการออมและการลงทุนเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนี้
- การซื้อประกันชีวิต คุณสามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมาหักลดหย่อยได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 100,000 บาท
- การซื้อ/เช่าซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย คุณสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัยมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ( Long-term Equity Fund : LTF ) คุณสามารถนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมาหักลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิณ แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( Retirement Mutual Fund : RMF ) คุณสามารถนำเงินซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาหักลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิณและเมื่อรวมเข้ากับเงินสะสมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น