ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กองทุนรวม : กองทุนรวมคืออะไร

กองทุนรวมคืออะไร?

กองทุนรวม คือ โครนอื่งการลงทุนที่ระดมเงินทุนมาจากผู้ลงทุนหลายๆรายมารวมกันให้มีเงินลงทุนก้อนใหญ่ โดยจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นนำเงินที่ได้ไปลงทุนลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆเงินฝาก และทรัพย์สินอื่นๆ เช่น อหังหาริมทรัพย์ ตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขาย ทั้งนี้ผู้ลงทุนแต่ละรายจะได้รับ "หน่วยลงทุน(Unit Trust)" เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ตนได้ลงทุนไป แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้แต่แรกในกองทุนรวมนั้น
หน่วยลงทุน คือ ตราสารที่ออกเสนอขายโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อระดมจากประชาชนโดยส่วนใหญ่มีมูลค่าที่ตราสารไว้ตามหนังสือชี้ชวนของตราสารนั้นๆ

หลักทรัพย์และทรัพย์สินอะไรที่กองทุนรวมลงทุน

  1. ตราสารทุน(Equity Instruments)

  2. ตราสารหนี้(Debt Instruments)

  3. ตั๋วแลกเงิน(Bile of Exchange/Draft)

  4. ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note)

  5. บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้(Negotiable Certificate of Deposit)

ตราสารทุน(Equity Instruments) 

ตราสารทุน(Equity Indtrument) หมายถึง ตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อระดมทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ออกตราสารทุนจะมีฐานะเป็น "เจ้าของกิจการ" สำหรับประเภทของตราสารทุนที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้มีดังนี้
  1. หุ้นสามัญ(Common Stocks) คือตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และไม่มีอายุครบกำหนดไถ่ถอน โดยปกติแล้วผู้ถือหุ้นสามัญมักจะได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น สิทธิในการจองหุ้นออกใหม่ และสิทธิในการได้รับเงินปันผล ซึ่งผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรคโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคพนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครองทั้งนี้เงินปันผลที่ได้รับอาจมากหรือน้อย หรืออาจไม่ได้รับเลย โดยจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานในแต่ละปีของกิจการนั้นๆ นอกจากนี้หากกิจการมีปัญหาถึงขั้นล้มละลาย หรือเลิกกิจการ เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินต้องให้กับเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเหนือกว่าเสมอ ส่วนที่เหลือจึงจะให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นอันสุดท้าย
  2. หุ้นบุริมสิทธิ(Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญแต่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะไม่ได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น (เว้นแต่จะระบุสิทธิไว้ก็จะได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงได้) นอกจากนี้หุ้นบุริมสิทธิอาจมีอายุครบกำหนดไถ่ถอนหรือไม่ก็ได้รวมทั้งต้องมีการจดบุริมสิทธิไว้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่สามารถยกเลิกได้ เช่น สิทธิในการได้รับเงินปันผลจ่ายก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ สิทธิในการรับเงินปันผลในอัตราคงที่(อาจมากหนือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ โดยอาจกำหนดเป็นจำนวนเงิน หรืออัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้) สิทธิในการรับเงินปันผลสะสมในกรณีที่กิจการไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ และหากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินส่วนแบ่งคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญเสมอ
  3. ใบสำคัญแสดงสิทธิ(Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้ลงทุนจะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะได้สิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น
  4. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเน้นลงทุนในตราสารทุนเป็นหลัก โดยผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉี่ยลระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุน
  5. ตราสารสิทธิที่แสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักททรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น(Stock Option & Futures) คือ ตราสารสิทธิหรือสัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกัน เพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งแตกต่างกับใบสำคัญแสองสิทธิตรงที่ให้สิทธิทั้งในการซื้อ และขายหลักทรัพย์เดิมและหลักทรัพย์ใหม่นอกจากนี้ผู้ออกตราสารจะเป็นใครก็ได้ นอกเหนือจากกิจการเจ้าของหลักททรัพย์นั้นอ้างอิง
  • กรณีที่เป็น Stock Option ผู้ลงทุนจะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะได้สิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น
  • กรณีที่เป็น Futures ผู้ลงทุนมีพันธะในการซื้อ หรือขายหุ้นสามัญตามที่ระบุไว้ในสัญญานั้นๆ ผู้ลงทุนจะได้สิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ทำตามพันธะสัญญาที่ระบุไว้ใน สัญญาซื้อขายหุ้นสามัญของกิจการนั้นแล้ว

 ตราสารหนี้(Debt Instruments)

ตราสารหนี้(Debt Instrument) หมายถึง ตราสารที่แสดงความเป็นหนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนสัญญาเงินกู้ที่กิจการทำขึ้นเพื่อขอกู้จากผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้คืนเงินกู้ และจ่ายดอกเบี้ยงเป็นงวดๆ ให้แก่ผู้ถือ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ถือตราสารหนี้จึงมีฐานะเป็น "เจ้าหนี้ของกิจการ" สำหรับประเภทของตราสารหนี้ที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้มีดังนี้
  1. ตราสารหนี้ภาครัฐ(Government Bond) เช่น พันธบัตรรัฐบบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น ตราสารหนี้ภาครัฐ เป็นตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในด้สนความสามารถในการชำระหนี้(Default/Credit Risk) ทั้งนี้เพราะผู้ออกคือ หน่วยงานภาครัฐ แต่ก็ไม่ได้มีความหมายว่าไม่มีความเสี่ยงเลยดังที่หลายๆคนคิด เพราะขึ้นชื่อว่า "การลงทุน" ไม่ว่าจะลงทุนในตราสารการเงินประเภทใดก็ตาม ย่อมต้องมีความเสี่ยงอยู่ด้วยเสมอ และ้มื่อความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ตราสารหนี้ภาครัฐจึงมักมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงมากนัก ผู้ถือตราสารประเภทนี้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของหน่วยงานภาครัฐ โดยส่วนใหญ่ตราสารประเภทนี้จะมีอายุการลงทุนค่อยข้างยาว เพื่อป้องกันการสร้างภาระห้แก่ภาครัฐในด้านการบริหารและจัดการหนี้ ยกเว้นแต่กรณีของตั๋วเงินคลัง ซึ่งรัฐบาลออกมาเพื่อดูดซับเงินสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดการเงิน หรือเพื่อใช้ในการกู้ยืมเงินระยะสั้น(ไม่เกิน 180 วัน)
  2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน คือ ตราสารที่แสดงความเป็นหนี้ที่ออกโดยธุรกิจภาคเอกชน หรือสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า และมีอายุในการลงทุนให้เลือกมากกว่าตราสารหนี้ภาครัฐ แต่หากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้แล้วก็จะพบว่าตราสารหนี้ภาคเอกชนมีความเสี่ยงมากกว่า ทั้งนี้เพราะไม่ได้รับความคุ้มครองเงินลงทุนเช่นเดียวกับตราสารที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ สำหรับประเภทของตราสารหนี้ภาคเอกชนที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้มีดังต่อไปนี้
  • หุ้นกู้(Debenture) คือ ตราสารที่แสดงความป็นหนี้ที่ออกโดยบริษัทมวลชน เพื่อระดมทุนไปใช้ในกิจการโโยผู้ถือหุ้นกู้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทผู้ออกตราสารนั้น และได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนด อีกทั้งยังได้รับสิทธิในการชำระเงินคืนจากการขายทรัพย์สินเมื่อกิจการเลิกดำเนินการก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ทั้งนี้หุ้นกู้สามารถแบ่งตามเกณฑ์ต่างได้ดังนี้
แบ่งตามหลักที่มี
หุ้นกู้แบบมีประกัน(Secured Debt/Bond) เป็นหุ้นที่มีการค้ำประกันโดยบุคคลที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่ หรือสถาบันการเงิน(Guaranted Debenture Bond) หรือมีการนำทรัพย์สินมาวางไว้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยอาจใช้สังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Mortage Bond) ใช้เครื่องจักรค้ำประกัน(Equipment Trust Bond) หรือใช้ตราสารทางการเงินอื่นๆค้ำประกัน(Collateral Trust Bond) กรณีที่ผู้ออกไม่สามารถชำระดอกเบี้ย หรือไถ่ถอนหุ้นกู้ได้ผู้ค้ำประกันต้องชำระดอกเบี้ยหรือมูลค่าไถ่ถอนแทนให้แก่ผู้ลงทุน หรือถ้าเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน สินทรัพย์นั้นก็จะถูกขายเพื่อนำมาชำระดอกเบี้ยหรือมูลค่าไถ่ถอนคืนให้แก่ผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้นกู้มีประกันนี้ทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เหนือกว่าผู้ถือหุ้นกู้ประเภทอื่นๆ
หุ้นกู้ไม่มีประกัน(Non-secured Debt/Debenture) เป็นหุ้นกู้ที่ปราศจากการค้ำประกัน และปราศจากสินทรัพย์ที่วางไว้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ ดังนั้นผู้ถือหุ้นประเภทนี้ จึงทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ด้อยกว่าผู้ถือหุ้นแบบมีประกัน
แบ่งตามสิทธิในการเรียกร้อง(Priority Claim)
หุ่นกู้ไม่ด้อยสิทธิ(Senior Debt) ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้ทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เหนือกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ แต่มีสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เป็นรองผู้ถือหุ้นแบบมีประกัน
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ(Subordinated Debt) ผู้ถือหุ้นประเภทนี้ได้รับชำระหนี้คืนหลังสุด เพราะสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นๆที่ไม่ด้อยสิทธิ

ตั๋วแลกเงิน(Bile of Exchange/Draft)

ตั๋วแลกเงิน(Bile of Exchange/Draft) คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่บุคคลรายหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย(Drawer) สั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย(Drawee) หรือตัวผู้สั่งจายเอง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน(Payee) ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น โดยตั๋วแลกเงินส่วนใหญ่จะมีธนาคาร หรือ สถาบันทางการเงินค้ำประกัน หรือรับรองการจ่ายเงินและสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดการเงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note) คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่ออกโดยธุรกิจที่มีฐานะมั่นคง หรือออกโดยบริษัทเงินทุน(Issuer) โดยให้สัญญากับบุคคลรายหนึ่งว่าจะใช้เงินตามที่ระบุบนหน้าตั๋ว พร้อมด้วยดอกเบี้ยในวันเววลาที่กำหนด ทั้งนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้ โดยจะแสดงข้อความระบุไว้บนหน้าตั๋วหากผู้ถือต้องการไถ่ถอนก่อนถึงเวลาที่กำหนดก็ต้องไถ่ถอนกับผู้ออกตั๋วเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีแารแสดงข้อความดังกล่าวไว้ และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรองการจ่ายเงิน ก็สามารถนำมาซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดการเงินได้

บัตรเงินฝากเปลี่ยนมือได้(Negotiable Certificate of Deposit)

บัตรเงินฝากเปลี่ยนมือได้(Negotiable Certificate of Deposit) คือ ตราสารการเงินระยะสั้นซึ่งธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงการฝากเงินกับธนาคาร โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการฝากเงินที่กำหนดไว้ผู้ฝากเงินจะได้รับเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ย หรืออาจไม่ได้รับดอกเบี้ยเลยก็ได้ตามแต่กำหนด นอกจากนี้บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้นี้ยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน

ไม่มีความคิดเห็น: