ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กองทุนรวม : วิธีการจัดการลงทุน

วิธีการจัดการลงทุนแบบมืออาชีพ

     คุรเคยสงสัยไหมว่าผู้ลงทุนมืออาชีพเขาดูแล และบริหารเงินของคุณอย่างไร ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการวิเคราะห์การลงทุนและหาจังหวะในการลงทุนที่เหมาะสม จึงสามารถทำให้มีอัตราผลตอบแทนที่น่าพอใจตามที่แจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน ภายใต้ความเสี่ยงที่กำหนด เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละคนได้อย่างสุงสุด

การจัดการลงทุน คือ อะไร

     เนื่องจากผู้จัดการกองทุนรวมต้องรับผิดชอบต่อเงินออมของผู้ลงทุนจำนวนมาก จึงต้องมีกระบวนจัดการการลงทุนที่น่าเชื่อถือซึ่งการจัดการลงทุน (Portfolio Management) ในที่นี้หมายถึง "กระบวนการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินประเภทต่างๆ โดยมีการดำเนินธุรกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นขั้นตอน โดยหลักทรัพย์และสินทรัพย์ที่ลงทุนนั้นถูกคัดเลือกแล้วว่า มีความเหมาะสมที่จะลงทุนที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั่งที่เกี่ยวกับสถานการณ์การลงทุนในขณะนั้นๆ และคุณสมบัติของผู้ลงทุนเอง" กระบวนการจัดการลงทุนที่ดี จะต้องดำเนินการให้เป็นวงจรที่มีความต่อเนื่องโดยไม่ข้ามขั้น และจะหมุนเวียนต่อกันไปโดยไม่รู้จบดังรูป

ทฤษฎีเบื้องต้นในการลงทุน

     ทฤษฎีการลงทุนจะเกี่ยวข้องกับการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ โดยผู้ลงทุนจะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่เหมาะสมของผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected return) และ ระดับความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ยอมรับได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น
  1. ทฤษฎีการบริหารพอร์ตโฟลิดอสมัยใหม่ (Modern Portfolio Theory) จะมุ่งเน้นการลงทุนที่กำหนดกรอบความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจว่า ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง จะไม่เบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังไว้สำหรับการสร้างพอร์ตการลงทุนในทฤษฎีนั้น คือ ผู้ลงทุนจะกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลายๆ ตัว ที่มีอัตราผลตอบแทนที่มีความสัมพันธ์กันน้อยมาก เพราะหากเกิดมีเหตุการณ์ใดมากระทบตัวหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่ง และทำให้ผลตอบแทนเปลี่ยนไปผลตอบแทนของตัวอื่นๆ จะไม่กระทบกระเทือน ทำให้ผลตอบแทนรวมของพอร์ตการลงทุนไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และมีความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนต่ำ
  2. ทฤษฎีการคิดราคาสินทรัพย์ (Asset pricing Theory) จะมุ่งเน้นการเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยมีการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ในจำนวนที่มากพอ เพื่อขจัดความเสี่ยงเฉพาะตัว โดนในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนจะพิจารณาอัตราผลตอบแทนส่วนเกินที่ผู้ลงทุนจะได้รับ (Risk premium) เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน เช่น เงินฝาก ตั๋วเงินคลัง ซึ่งเป็นตราสารหนี้รัฐบาลระยะสั้น
  • ทฤษฎีการคิดราคาสินทรัพย์ต้นทุน ( Capital Asset Pricing Theory:CAPM) เป็นทฤษฎีการลงทุนที่มีข้อสมมติฐานว่า
  • อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ไม่ควรที่จะต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงเลย
  • ถ้าการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม และลงทุนในจำนวนหลักทรัพย์ที่มากพอ จะช่วยขจัดความเสี่ยงเฉพาะตัว (Unsystematic Risk) ของหลักทรัพย์นั้นๆ ได้ แต่ยังมีความเสี่ยงของระบบ (Systematic Risk) ซึ่งถ้าเกิดขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อหลักทรัพย์ทุกตัวไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
  • ทฤษฎีการทำกำไรจากราคาที่ผิดปกติ (Arbitrage Pricing Theory:APT) การบริหารหารลงทุนแนวนี้เชื่อว่าในบางขณะเวลาราคาหลักทรัพย์ในตลาดทุนอาจมีราคาผิดปกติ และไม่ตรงกับมูลค่าในอนาคตของหลักทรัพย์นั้น ซึ่งอาจเกิดมาจากราคาหลักทรัพย์ที่ยังไม่ได้สะท้อนถึงข้อมูลปัจจุบันอย่างสมบูรณ์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ที่ผู้ลงทุนไม่ได้คาดการณ์มาก่อน เป็นต้น แต่ในที่สุด ผู้ลงทุนในตลาดจะเป็นผู้กำหนดราคาสมดุลของหลักทรัพย์ในแต่ละตัวโดยการ
  • ขายหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเกินกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับหลักทรัพย์อื่น
  • ซื้อหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับหลักทรัพย์อื่น จนในที่สุดการซื้อขายข้างต้น จะทำให้ราคาที่ผิดปกติของหลักทรัพย์ทั้งหลายวิ่งเข้าสู่ภาวะราคาสมดุล

กระบวนการบริหารเงินลงทุนให้มีกำไร

 1.ประเมินสถาณการณ์ก่อนการลงทุน

  1. สำรวจลูกค้า ทางบริษัทจัดการลงทุนต้องทำการสำรวจความต้องการของลูกค้า เพื่อที่จะสามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกัน และจัดสรรกองทุนสำหรับผู้ลงทุนแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม และเช่นเดียวกันกับผู้ลงทุนรายย่อยผู้จัดการกองทุนต้องสำรวจวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน และข้อจำกัด ก่อนที่จะวางกรอบนโยบาย การลงทุน และกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุน
  2. ประเมิณตลาด ผู้จัดการกองทุนจะต้องคาดการณ์เกี่ยวกับตลาดทุน เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจมีผลกระทบทางบวกและทางลบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ และประเมิณความเสี่ยง ตลอดจนคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุน โดยใช้ปัจจัยสำคัญที่สำคัญได้แก่
  • ตัวแปรทางเศรษฐกิจมหาภาค มีอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ที่ลงทุน ผู้จัดการกองทุนมักจะสังเกตุแลจับตา มองดู ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเป็นการยากที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลอีกทั้งขบวนการในการพยากรณ์ก็ค่อนข้างซับซ้อน โดยผู้จัดการกองทุนจะหาคำตอบได้จากกงานวิจัยต่างๆ เพื่อที่จะพิจารณาหานโยบายการลงทุนซึ่งคาดว่าน่าจะมีโอกาสทำผลตอบแทนที่ดีกว่าและกำหนดอัตราส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุนนั้น
  • ความเห็นโดยเสียงข้างมาก ของสำนักวิจัยการลงทุนที่เชื่อถือได้ที่มีต่อตลาดทุนโดยรวม และต่อราคาหลักทรัพย์ในเวลานั้นๆ ว่าระดับราคาที่พิจารณา กับโอกาสในการทำกำไรในอนาคตเป็นอย่างไร และควรจะปฎิบัติอย่างไรกับหลักทรัพย์นั้น เช่น "ควรซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงกว่านี้" หรือ "ควรถือระยะยาว"
     หลังจากประเมิณสถานการณ์แล้ว ผู้จัดการกองทุนจะกำหนดนโยบายการลงทุน โดยจับคู่ความต้องการของลูกค้ากับตลาดที่ประเมิณมาแล้ว เพื่อที่จะกระจายการลงทุนว่า
  1. จะลงทุนกลุ่มสินทรัพย์ใด และวางน้ำหนักการลงทุนของแต่ละกลุ่มสินทรัพย์เท่าใด (Asset Allocation)
  2. จะเลือกลงทุนในอุตสหกรรมใด (Sector Allocation)
  3. จะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ใดบ้าง (Securities Allocation)
     นโยบายการลงทุนนี้ จะเขียนไว้ในหนังสือชี้ชวน เพื่อสื่อให้กับผู้ลงทุนที่สนใจมาสั่งจองซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด

2.วิเคราะห์ดี...มีกำไร

    ขั้นนี้จะต้องใช้ความชำนาญทางการลงทุนจากผู้จัดการกองทุน มืออาชีพในการวิเคราห์เศรษฐกิจมหาภาค และหลักทรัพย์เฉพาะตัว ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อขายตามนโยบายที่กำหนด โดยแนววิเคราะห์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้
2.1) วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ การหามูลค่าที่แท้จริงที่เป็นเป้าหมายในการลงทุน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญได้แก่
  • วิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงมหาภาค ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวงจรชีวิตของอุตสหกรรม หรือธุระกิจที่จะเลือกลงทุน รวมถึงฐานะทางการเงินและผลประกอบการของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ จึงทำให้ผู้จัดการกองทุนต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความหมายของตัวแปรทางเศรษฐกิจหมาภาคที่สำคัญดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) คือ ผลรวมของสินค้า และบริการที่ผลิตได้ในระบบเศรษฐกิจของประเทสในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
โดยที่
C = Consumption คือ มูลค่ารวมของการบริโภคของภาคเอกชน
I = Investment คือ มูลค่ารวมของการลงทุนภาคเอกชน
G = Government Spending คือ มูลค่ารวมของการใช้จ่ายของรัฐ
X = Export คือ มูลค่ารวมของการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศ
M = Import คือ มูลค่ารวมของการนำเข้าสินค้า และวัตถุดิบจากต่างประเทศ
     อัตราความเจริญเติบโตของ GDP เป็นดัชนีวัดที่สำคัญที่สุด ที่จะบ่งบอกถึงภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากรัฐบาลอาจใช้นโยบายการเงินการคลัง ในการกระตุ้นองค์ประกอบของ GDP ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า บางครั้งตัวเลข GDP เป็นตัวเลขชี้นำที่ช้ากว่า (Lagging indicator) ตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากตลาดได้จับตามองตัวเลของค์ประกอบของ GDP ไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่น ดัชนีวัดการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน ดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นต้น
2.อัตราเงินเฟ้อ (inflation) คือ สภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้า และบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price index:CPI) อย่างไรก็ดีเนื่องจากนโยบายทางการเงินของประเทศไทยใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นระดับเป้าหมาย (Inflation Targeting) เช่น หากภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงที่อาจส่งผลให้ระดับราคาสินค้าและบริการปรับตัวขึ้นเกินกว่า อัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อชะลอการจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชน และรักษาระดับของราคาสินค้าไม่ไห้ปรับตัวสูงขึ้นจนเกินไป
3.นโยบายการเงินและการคลัง (Fiscal and Mometary Policirs) เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาล ที่ใช้แก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้เข้าสู่สมดุล โดยจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ
4.ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ไดแก่ ผลรวมของดุลการค้า (X-M) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ GDP จึงเปรียบเสมือนบัญชีเงินสด (Cash Account) ของประเทศ ในปี พ.ศ 2547 ประเทสไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล เนื่องมาจากมีการนำเข้าของสินค้าจากต่างประเทศน้อยลง  จึงทำให้ดุลการชำระเงินสูง (Balanced of Payment) ขึ้นเช่นกันแสดงถึงฐานะของประเทศที่มั่นคงยิ่งขึ้น
5.ดัชนีผลผลิตภาคอุตสหกรรม (Manufacturing Output Index) เป็นดัชนีชี้ระดับการผลิตในภาคอุตสหกรรมซึ่งสะท้อนถึงความต้องการแรงงาน มีความสำคัญของอัตราการว่างงาน และรายได้ส่วนบุคคล
6.อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) คือ อัตราส่วนของบุคคลที่ว่างงานต่อจำนวนแรงงานทั้งหมดในช่วงภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น อัตราการว่างงานจะลดต่ำลง เนื่องจากการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานนี้จึงเป็นดัชนีชี้นำถึงการบริโภค เพราะเมื่อคนงานมีรายได้ก็จะนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยต่อไปนั้นเอง
7.ตัวชี้วัดการใช้จ่ายภาคเอกชน (Private Consumption Indicators) เป็นรายการมูลค่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภคของภาคเอกชน ซึ้งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
8.ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index) เป็นเครื่องชี้นำทิศทางการเคลื่อนไหวของการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นตัว I องค์ประกอบหนึ่งของ GDP นั่นเอง
  • วิเคราะห์อุตสหกรรม ผู้จัดการกองทุนต้องวิเคราะห์อุตสหกรรมที่สนใจลงทุนว่า มีการเติบโตอยู่ในขั้นตอนใด และกำลังเปลี่ยนแปลงในในทิศทางใด และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่ โดยดูจากปัจจัยดังนี้
  • วงจรชีวิตของอุตสหกรรม (Life Cycle)
  • โครงสร้างของอุตสหกรรม
  • อุปสงค์ในสินค้าของผู้บริโภค
  • กฎเกณฑ์ของภาครัฐที่เอื้ออำนนวย
  • วิเคราะห์หลักททรัพย์ ผู้จัดการกองทุนต้องทำการวิเคราะห์บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ โดยทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เช่น วิเคราห์คุณภาพของผู้บริหาร ความสามารถในการแข่งขัน และแนวคิดของผู้บริโภค เป็นต้น นอกจากนี้ยังวิเคราะห์บริษัทในเชิงปริมาณอีกด้วย โดยใช้วิธีการคำนวณข้อมูลจากงบการเงินของบริษัท เพื่อให้เห็นถึง
  • ฐานะทางการเงิน
  • ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
  • ความสามารถในการทำกำไร
     ซึ่งข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ควรนำมาจากงบการเงินหลายๆปีติดต่อกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตนั่นเอง
2.2) วิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เป็นการวิเคราะห์เพื่คาดการณ์ราคาหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลซึ่งเกิดขึ้นในอดีต เพื่อพยายามบอกถึงการเกิดขึ้นของแนวโน้มใหม่ของราคา และจุดเปลี่ยนแปลงของราคา โดยมีความเชื่อว่า รูปแบบของราคาในอดีตมักจะเกิดซ้ำรอยเดิมอีกครั้ง

3.จัดสรรเงินลงทุนอย่างเหมาะสม (Asset Allocation)

     ให้เหมาะสมกะบภาวะการณ์ในขณะนั้น การกระจายพอร์ตการลงทุนที่ดี และการจัดส่วนการลงทุนให้ เหมาะสมกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลาจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนให้สูงที่สุด และลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งทางทีมงานผู้จัดการกองทุนสามารถทำได้เป็นอย่างดีจากการศึกษาแนวโน้มเศรษฐกิจ ทั้งในเชิงมหาภาคและจุลภาคอย่างต่อเนื่อง

ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน

4.ดำเนิการซื้อขายหลักทรัพย์ตามจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

    หนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการลงทุน คือ การดำเนินการซื้อขายตามจังหวะในการลงทุน ซึ่งนับว่าเป็นเคล็ดลับในการลงทุนที่ผู้มีความเชี่ยวชาญใช้เป็นกลยุทธ์ในการหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น คำถามที่ว่า "เมื่อไรที่ควรจะลงทุนในตลาดหุ้น และเมื่อไรที่ท่านควรจะลงทุนในตลาดตราสารหนี้" หรือ "ควรจะซื้อหุ้นนี้ ณ ระดับราคาเท่าไร" เป็นสิ่งที่ผู้จัดการกองทุนต้องหาคำตอบให้ได้ โดยสามารถที่จะพิจารณาได้จากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อซึ่งเป็นเข็มทิศชี้ทางว่าจะเข้าหรือออกจากตลาดหุ้น/ตลาดตราสารหนี้ โดยสามารถดูได้จากกราฟด้านล่าง
     จากรูป เมื่อเศรษฐกิจเพริ่มกำลังจะฟื้นตัว ภาคเอกชนมักจะมีอัตราเจริญเติบโต และความสามารถในการทำกำไรสูง จึงเหมาะกับการลงทุนในหุุ้นสามัญ ในขณะที่เศรษฐกิจเริ่มอิ่มตัวตลาดหุ้นร้อนแรงเกินไป จึงควรหันมาถือทอง และอัญมณีแทนเนื่องจากในขณะนั้นราคาจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจร้อนแรงถึงขีดสุด จนธนาคารกลางต้องปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น การถือเงินสด หรือตราสารหนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ความมีวินัยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้จัดการกองทุน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในการตัดสินใจลงทุน ตัวอย่างเช่น  ผู้ลงทุนส่วนใหญ่มักพากันกรูเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นที่กำลังร้อนแรง และกระโดออกมาเพื่อราคาตลาดหุ้นปรับตัวลงมาอยู่ในระดับต่ำที่ควรจะลงทุน โดยไม่ได้นึกถึงเหตุผลที่เป็นตัวผลักดันให้พวกเขาตัดสินใจเข้ามาลงทุนในครั้งแรก แต่มักปล่อยให้ความตื่นตระหนกมาครอบงำจิตใจเอง
มองวิกฤติให้เป็นโอกาส!! จังหวะในการลงทุนที่ดี เป็นอีกประการหนึ่งที่ผู้จัดการกองทุนสามารถใช้เพื่อเปลี่ยนวิกฤตทางเศรษฐกิจหรือความคาดหวังของตลาดทุนที่มีต่อข้อมูลใหม่ซึ่งประกาศออกมา เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจ ข่าวการเมืองว่าได้สะท้อนราคา (Priced in) มากหรือน้อยเกินไป ให้เป็นโอกาสในการเข้าซื้อ/ขายหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำ/สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
  • กลยุทธ์สู่การลงทุน Passive & Active

  • กลยุทธ์การลงทุนในเชิงอนุรักษ์ (Passive Manegement) หมายถึง กลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนต้องการให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามครรลองของตลาด เนื่องจากว่าข่าวสารการลงทุนวิ่งเข้าสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะสร้างพอร์ตการลงทุนในลักษณะเดียวกันกับองค์ประกอบของตลาด เช่น ในทุกอุตสาหกรรม และไม่มีการปรับพอร์ตโฟลิโอบ่อยครั้งนักผลลัพธ์ที่ได้ คือ ผลการดำเนินงาน และความเสี่ยงของการลงทุนเป็นไปตามตลาดโดยมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ
  • เทคนิคการบริหารในแบบการลงทุนทุกตัว (Full Replication) ถือว่าเป็นการบริหารการลงทุนที่แน่ชัดที่สุด แต่ก็ค่อนข้างจะสิ้นเปลืองและก็ยุ่งยากไม่สะดวก โดยผู้จัดการกองทุนจะต้องลงทุนในหุ้นทุกตัวที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ตามอัตราส่วนของหุ้นในแต่ละตัวที่ลดหลั่นกันไป เมื่อเป็นเช่นนั้นกองทุนรวมดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อาศัยเทคนิคนี้ ในการบริหารก็จำเป็นที่ต้องลงทุนในหุ้นของทุกบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น
  • การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) เป็นเทคนิคการลงทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีอัตราส่วนอยู่ในตลาดค่อนข้างมากเป็นส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันก็จะสุ่มตัวอย่างในหุ้นตัวเล็กในแต่ละหมวดธุรกิจ โดยมีเหตุผลที่ว่า หุ้นที่อยู่ในหมวดธุรกิจแต่ละหมวดธุรกิจ ที่มีการเคลื่อนไหวของราคาในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้การจัดการกองทุนยังยึดกับดัชนีเป็นสำคัญ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นทุกๆ ตัว กองทุนรวมดัชนีที่บริหารกองทุนโดยอาศัยเทคนิคดังกล่าวก็จะสามารถมีอัตราผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี มากที่สุดในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งค่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์สามารถลดลงตามไปด้วย
  • เทคนิคการใช้แบบจำลองสมการสองชั้นเพื่อหาผลตอบแทนสูงสุด (Quadratic Optimization Model) ซึ่งเป็นแบบจำลองที่สร้างขึ้น เพื่อลดอัตราเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีให้ได้มากที่สุด ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการใช้เทคนิคนี้ก็คือ ข้อมูลที่ถูกนำมาใช้ในแบบจำลองนี้เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นผ่านมาในอดีต และถ้าหากอนาคตไม่เป็นไปตามความเป็นไปของอดีต ค่าความผิดพลาดในการติดตามก็จะถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องถูกนำมาใช้ด้วยเช่นกัน
  • กลยุทธ์การลงทุนในเชิงรุก (Active Management) คือ กลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนมุ่งให้ผลการดำเนินงานของกองทุนมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดหลัก โดยการค้นหาและทางเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และให้น้ำหนักการลงทุนืั้แตกต่างไป โดยอาศัยวิธีการลงทุนต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • การลงทุนตามตลาด (Market Timing) โดยอาศัยหลักการง่ายๆ ก็คือการตัดสินใจที่จะนำเงินกองทุนเข้าไปซื้อหุ้นที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือขายหุ้นที่มีอยู่ออกมา โดยดูจากอุณหภูมิของตลาดเป็นหลัก
  • วิธีการลงมุนตามขอบเขตที่วางเอาไว้ (Theme election) โดยการวางขอบเขตการลงทุนของกองทุนเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะเป็นการเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีสัดส่วนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มากนัก (Small Capitalization) แทนที่จะ เลือกลงทุนในหุ้นที่มี สัดส่วนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ค่อนข้างมาก (Large Capitalization) หรืออาจจะเป็นการเน้นการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในหมวดธุรกิจที่น่าสนใจ หุ้นที่มีอัตราการเติบโตดี หรือหุ้นที่มีอัตราผลตอบแทนและมีมูลค่าสูงหรืแแม้กระทั่ง การลงทุนในหุ้นที่อยู่ในแนวเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือแบบดั่งเดิมตามแต่แผนการที่วางเอาไว้
  • การเพิ่มมูลค่าของกองทุนโดยผ่านการเลือกลงทุนในหุ้นรายตัว (Selection of Individual Stock) ผู้จัดการกองทุนจจะทำการศึกษา และคัดเลือกหลักทรัพย์รายตัว เพื่อให้ได้ซึ่งผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้
  • การวัดผลการดำเนินงาน

     การประเมิณผลการดำเนินงานของกองทุนรวม โดยการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเป็นอัตราร้อยละ (Percentage Change) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ซึ่งก็คือ มูลค่าของเงินลงทุนในครั้งแรกขแงกองทุนรวมนั้น บวก (หรือลบ) ด้วยผลตอบแทน (หรือผลขาดทุน) สะสมที่ได้จากการลงทุนนั้น) กับ
  • ดัชนีมาตราฐาน (Benchmark) ที่มีกลุ่มหลักทรัพย์ที่คล้ายคลึงกับกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมนั้นลงทุน ทั้งนี้ดัชนีมาตราฐาน จะถูกกำหนดโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เช่น
  • กองทุนรวมตราสารทุน จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ (SET Index)
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ จะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับดัชนี Yield Cure และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เป็นต้น
  • กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน ในการแสดงข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน บริษัทจัดการลงทุนจะต้องแสดงอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินงานนั้น ย้อนหลังจากวันที่คำนวณปัจจุบันจนถึงอดีต เช่น สามเดือน หกเดือน สิบสองเดือน สามปี และตั้งแต่วันแรกที่จัดตั้งกองทุนนั้น โดยกองทุนต่างๆ จุถูกจัดกลุ่มตามวัตถุประสงค์ และนโยบายการลงทุนที่คล้ายกัน และนำผลการดำเนินงานในรูปของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนมาเปรียบเทียบกัน กองทุนที่มีผลการดำเนินงานดี ก็จะสามารถนำมาใช้ในการจัดอันดับเพื่อผลทางการตลาดได้
     การจัดการลงทุน เป็นกระบวนการลงทุนในหลักทรัพย์ และทรัพย์สินประเภทต่างๆ โดยมีการดำเนินธุรกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นขั้นตอน กระบงนการบริหารดังกล่าวนั้น สามารถสรุปเป็น 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
  1. ประเมิณสถานการณ์ก่อนการลงทุน
  2. วิเคราะห์ดี...มีกำไร
  3. จัดสรรเงินลงทุนอย่างเหมาะสม (Asset Allocation) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น
  4. ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
     กลยุทธ์การลงทุนที่นิยมใช้กัน คือ การลงทุนแบบเชิงรุก และเชิงอนุรักษ์ โดยทั้งสองมีข้อแตกต่างที่ยุทธวิธีการลงทุนที่ผู้จัดการลงทุนสามารถนำไปใช้ในการบริหารกองทุน รวมทั้งความคาดหวังในการเพิ่มมูลค่าของกองทุน ซึ่งในส่วนของกลยุทธ์การลงทุนในเชิงลึกนั้น มุ่งหวังที่จะเพิ่มมูลค่าของกองทุนให้ได้มากที่สุด ส่วนการวัดผลการดำเนินงานนั้น ผู้จัดการกองทุนมักเปรียบเทียบผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงกับดัชนีมาตราฐาน (Benchmark) หรือกองทุนรวมที่มีนโยบายคล้ายคลึงกัน

ไม่มีความคิดเห็น: