ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กองทุนรวม : จะเลือกลงทุนในกองทุนรวม

จะลงทุนในกองทุนรวม...ควรเริ่มต้นอย่างไรดี?

     หลักจากที่เราได้กว่างถึงกองทุนรวมคืออะไร ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวม หลายๆคนเริ่มที่จะสนใจในกองทุนรวม แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ในส่วนนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจแลแนะวิธีการลงทุนอย่างค่อยเป็รค่อยไป เพื่อให้คุณลงทุนได้อย่างรอบคอบ และได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้

เตรียมความพร้อมก่อนการลงทุน

     สิ่งแรกที่ผู้ลงทุนควรใส่ใจก่อนเริ่มการลงทุน คือ คุณมีเงินเหลือพอเพื่อที่จะลงทุนแล้วหรือยัง เพราะ เงินที่จะนำมาลงทุนนั้นควรเป็นเงินที่สามารถพร้อมรับกับความเสี่ยงได้ หรือเป็นเงินออมที่สูญหายแล้วไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น ผู้ลงทุนควรจัดเงินที่มีอยู่ให้เพียงพอกับวิถีการดำเนินชีวิตของตน และมีการออมไว้บ้างบางส่วน เพื่อวัตถุประสงค์หลักๆ 3 ประการ คือ ออมเงินเพื่อสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินโดยจำนวนเงินที่ออมควรมีประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในแต่ละเดือน ออมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ระยะยาว เช่น ออมเงินเพื่อการศึกษาของบุตร เพื่อซื้อบ้าน และสุดท้าย คือ ออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ สำหรับ 3 วิธีง่ายๆ ที่ทำให้มีเงินออมเพิ่มมากขึ้นตามจุดมุ่งหมาย คือ
  1. เพิ่มรายได้เพื่อจะได้มีเงินออมมากขึ้น
  2. ลดค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มเงินออม
  3. สร้างผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นจากเงินออมที่มีอยู่
     น่าเสียดายที่บางคนไม่ใส่ใจกับการเก็บออม เพราะคิดว่าตนมีเงินเหลือใช้มากพออยู่แล้ว เช่น จากมรดก จากการทำธุรกิจ หรือพอใจกับชีวิตที่ตนเป็นอยุ่ ไม่คิดล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ทำให้ต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินจนต้องทุกข์ทนเพราะถ้ามีแต่ค่าใช้จ่ายที่ผูกมัดอยู่ทุกเดือน เงินที่มีอยู่ก็สามารถที่จะร่อยหรอจนถึงขั้นติดลบได้หากไม่รูู้จักวิธีการวางแผนทางการเงินของตนให้ดี
     หลังจากมีเงินตั้งต้นเพื่อลงมุนแล้วนั้น ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องกลับมาสำรวจตนเอง และประเมิณว่าตัวเองมีจุดประสงค์ในการลงทุนอย่างไร ชัดเจนหรือไม่ เช่น เพื่อการศึกษาบุตร ซื้อบ้าน หรือวางแผนเกษียณ เป็นต้น แน่นอนทุกคนปรารถนาที่จะเป็นอิสระภาพทางการเงินแต่จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายหลักที่ทำให้หลายคนหลงทางกับผลตอบแทนที่คำนวณออกมาสวยหรูบนกระดาษจนลืมคำว่า "ความเสี่ยง" สัจธรรมแห่งการลงทุนทุกคราไป ดังนั้นต้องไม่ลืมที่จะถามตัวเองว่าสามารถแบกรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน นอกจากนี้คุณควรแบ่งย่อยจุดมุ่งหมายเป็นลำดับขั้น ตามอายุ รายได้ และจุดมุ่งหมายของชีวิต
     เมื่อเข้าใจกรอบการลงทุนของตนเองในแง่ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แล้วจึงพิจารณาว่าจะลงทุนในตราสาร หรือหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนอย่างไร ในรูปแบบไหนมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงไร และคุณคิดว่าเหมาพสมกับคุณหรือไม่ หากยังไม่ทราบหรือยังไม่แน่ใจคุณควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยงกับการลงทุนประเภทนั้นๆก่อน
รู้ไว้ใช่ว่า!! เคล็ดลับในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ
- มีเป้าหมายที่ชัดเจน และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
- สร้างวินัยในการออมและการลงทุน
- เริ่มต้นออมทันทีที่มีโอกาส
- ปรับปรุงงบประมาณให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

แนวทางการลงทุน : ผลตอบแทน VS ความเสี่ยง

 ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่า การผสมผสานรูปแบบของกองทุนรวมใดจะดี และเหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ สิ่งสำคัญที่จะต้องเอาใจใส่และทำความเข้าใจ คือลักษณะความเสี่ยง และผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละกองทุน ซึ่งโดยปกติแล้วการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงก็มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงขอแนะนำวิธีการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะสมกับความพอใจของคุณทั้งในแง่ความเสี่ยงและผลตอบแทนในกองทุนรวม
  1. การกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนให้เหมาะสม (Diversification) แม้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมจะมีการกระจายในสินทรัพย์ (Asset Allocation) ซึ่งลดความเสี่ยงจากการลงทุนลงแล้วอย่างไรก็ดี มีผู้ลงทุนหลายท่านที่เข้าใจว่าควรลงทุนในหลายๆกองทุนรวม เพื่อกระจายการลงทุนและลดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากมีรายงานการศึกษาของสถาบันชั้นนำจากต่างชาติ ได้ข้อสรุปว่า การถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมากกว่า 4 กองขึ้นไปไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนแต่อย่างใด ในกรณีของกองทุนรวมในบ้านเรานั้นยังไม่ได้มีการทำรายงานศึกษาในเรื่องนี้ แต่แนวโน้มก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากต่างชาติเท่าใดนัก ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ตะต้องไปซื้อกองทุนรวมมากมายหลายกอง เพื่อที่จะให้เกิดการกระจายการลงทุนทางเลือกที่ดีน่าจะเป็นการเลือกลงทุนในกองทุนที่ดีๆ สัก 2 หรือ 3 กอง หรือเลือกซื้อกองทุนผสม ซึ่งน่าจะช่วยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงได้มากกว่า
  2. การลงทุนแบบเน้นคุณค่า(Value Investing) วอเรน บัฟเฟตต์ ผู้ลงทุนที่ประสบผลสำเร็จสูงสุกคนหนึงของโลก ได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ในการลงทุนให้ประสบผลสำเร็จ คือ "กฎข้อที่ 1 : อย่าให้เสียเงิน กฎข้อที่ 2 : อย่าลืมข้อที่ 1 และนั้นคือ กฎทั้งหมดเพื่อให้ประสบความสำเร้จในการลงทุน" เขาแนะนำว่าโอกาสที่ดีที่สุดของคุณที่จะไม่เสียเงิน ก็คือ การซื้อหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพดีซึ่งถูกตลาดมองข้าม ทำให้ราคาของหลักทรัพย์นั้นต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Undervalue) สำหรับการเลือกซื้อหน่วยลงทุนในตลาดรองนั้น ผู้ลงทุนควนเลือกลงทุนในหน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย และมีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ราคาตลาดของหน่วยลงทุนนั้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในภายหลัง ดังนั้นการให้น้ำหนักการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุนที่มีคุณภาพดี และรอคอยให้ตลาดรับรู้มูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์หรือหน่วยลงทุนเหล่านั้นในภายหลัง โดยมุ่งหวังผลการลงทุนในระยะยาวก็คือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นเอง
  3. การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Doller Cost Averaging) คือ การกำหนดวงเงินลงทุนเป็นงวดๆ งวดละเท่าๆกัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาสโดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุนจะขึ้นหรือลง เป็นการลงทุนแบบอัตโนมัติไปเรื่อยๆ โดยตั้งเป้าหมายที่จำนวนเงินที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก จากการที่คุณลงทุนโดยซื้อเป็นจำนวนเงินที่เท่าๆกันทุกครั้งนี้ทำให้คุณสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ในจำนวนมากขึ้นเมื่อหน่วยลงทุนนั้นราคาต่ำลง และซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวนที่น้อยลง ในขณะที่หน่วยลงทุนนั้นมีราคาสูง ข้อดีของการกระจายความเสี่ยงแบบนี้คือ ถ้าตลาดมีความผันผวนมาก หรือเป็นตลาดขาลงคุณมีโอกาสที่จะขาดทุนน้อยกว่าการลงทุนด้วยเงินทั้งหมดไปในคราเดียว นอกจากจะช่วยกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง ในช่วงเวลาต่างๆ แล้วยังเป็นการสร้างวินัยในการลงทุน ไม่หวั่นไหวไปกับความผันผวนของตลาดอีกด้วย
ตัวอย่าง ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน 2,000 บาท ทุกๆ เดือน เป็นเวลา 6 เดือน
     เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบ Doller Cost Averaging ข้างต้น กับการซื้อขายหน่วยลงทุนเมื่อเริ่มต้นทั้งหมดด้วยเงิน 12,000 บาท จะเห็นว่าด้วยเงินลงทุนที่เท่ากันสำหรับวิธีลงทุนครั้งเดียวด้วยเงินที่มีอยู่ทั้งหมด จะได้หน่วยลงทุนเป็นเงินทั้งสิน 1,200 บาท โดยมีต้นทุนหน่วยละ 10 บาท แต่ถ้าลงทุนด้วยวิธี Doller Cost Averaging จะซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวน 1,242.93 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเพียง 9.83 บาท จะเห็นว่าการลงทุนแบบ Doller Cost Averaging นี้ แม้จะไม่ได้ทำให้คุณลงทุนได้ที่ราคาหน่วยลงทุนต่ำสุด (8 บาท/หน่วย) ทั้งหมด แต่ก็สามารถป้องกันไม่ให้คุณนำเงินลงทุนทั้งหมดที่มีไปซื้อหน่วยลงทุนที่ราคา 12 บาท/หน่วยด้วย ดังนั้นหากคุณลงทุนด้วยเงินที่เท่าๆกันแล้ว เมื่อหน่วยลงทุนราคาลดลงจะทำให้คุณสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวนที่มากขึ้นและเมื่อหน่วยลงทุนปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้คุณซื้อหน่วยลงทุนได้น้อยลง ซึ่งพอนำมาเฉลี่ยกันแล้วจะทำให้ต้นทุนการลงทุนไม่สูงจนเกินไป

เลือกซื้อหน่วยลงทุนให้ตรงใจคุณ

     เมื่อคุณเข้าใจแนวทางการลงทุน และพร้อมที่จะเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมไม่ว่าจะเพียงบางส่วน หรือทั้งหมดของเงินทุนแล้วก่อนการตัดสินใจลงทุน คุณควรศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวมนั้นๆ วัตถุประสงค์ของกองทุนรวมคืออะไร มีนโยบายการลงทุนอย่างไร มีระยะเวลาเหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุนของคุรหรือไม่ ผู้จัดการกองทุนนำเงินของคุณไปลงทุนในอะไรบ้าง ได้รับผลตอยแทนในลักษณะไหน เพื่อที่จะตอบคำถามที่สำคัญว่า วัตถุประสงค์ของกองทุนรวมตรงกับวัตถุประสงค์ของคุณหรือไม่นั้นเองในส่วนถัดไปจึงขอแนะนำ 4 วิธีง่ายๆ ที่คุณจะใช้สำหรับเลือกซื้อหน่วยลงทุนที่ตรงกับความต้องการ อันได้แก่

1.เข้าใจหนังสือชี้ชวน : แผนที่ขุมทรัพย์สู่กองทุนรวม

     หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (Prospectus) คือ เอกสารสำคัญที่บริษัทจัดการลงทุนต้องจัดทำขึ้น เพื่อเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลงทุนที่ได้จัดตั้งขึ้นให้แก่ผู้ลงทุนทราบ หรือแจกจ่ายให้อก่ผู้ลงทุนทุกครั้งที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนโดยในหนังสือชี้ชวนเล่มหนึ่งสามารถทำให้คุณตอบข้อสงสัยที่คิดไว้ก่อนการลงทุนได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เพราะหนังสือชี้ชวนเปรียบเสมือน คลังข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับตัวโครงการลงทุนนั้น
     ดังนั้นการใช้เวลาศึกษาหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะช่วยให้สามารถเลือกซื้อหน่วยลงทุนที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยต้องพิจารณาถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมนั้นๆ ผลประกอบการในอดีต ศักยภาพในการบริหารกองทุนรวมของผู้จัดการกองทุน ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงวัน เดือน ปี ที่ตีพิมพ์ในหนังสือชี้ชวนเป็นสำคัญ
     โดยทั่วไป หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการลงทุนทำขึ้นมี 2 ส่วน คือ ส่วนสรุปข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ และส่วนข้อมูลโครงการ

1.1 ส่วนสรุปข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ

     แสดรายละเอียดที่สำคัญของโครงการลงทุน โดยเนื้อหาต้องกระชับ อ่านง่าย และระบุเฉพาะข้อมูลหลักๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนโดยตรง ทั้งนี้จะต้องเผยแพร่ให้แก่ผู้ลงทุนทุกครั้งที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุน ข้อมูลที่สำคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบประกอบด้วย
  • ลักษณะสำคัญของกองทุนรวม (Key Features) จะแสดงรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับโครงการลงทุน อันได้แก่
  • ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการลงทุน
  • ชื่อ ประเภท และอายุของโครงการ
  • เงินทุนจดทะเบียนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน รวมทั้งจำนวณหน่วยลงทุน ราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขายและมูลค่าขั้นต่ำของการจองซื้อ
  • วัตถุประสงค์ของโครงการลงทุน และนโยบายการลงทุน
  • นโยบายการจ่ายปันผล และวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
  • สถานที่ติดต่อซื้อขาย และวันที่เสนอขายหน่วยลงทุน
  • ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ดูแลผลประโยชน์นายทะเบียนหน่วยลงทุน และผู้สอบบัญชี
  • กำหนดหลักเกณฑ์ และเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโคนมัติ (Auto Redemption) ในกรณีนี้ ผู้ลงทุนได้รับเงินจากการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเป็นงวดๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยจะได้รับผลตอบแทนที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่ากรณีที่ได้รับเงินปันผล ทั้งนี้เพราะเงินที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนไม่ต้องเสียภาษี
  • กรณีที่เป็นกองทุนเปิด ต้องมีการกำหนดเวลาการขาย และรับซื้อคืนหน่วยลงทุนภายหลังการเสนอขายครั้งแรก รวมถึงระยะเวลาการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน
  • ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม
  • ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม โดยแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
  • ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Credit Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะกับบริษัทจัดการลงทุนเองอันได้แก่ ประเภทของบริษัท ขนาดของบริษัท ฐานะทางการเงินของบริษัท และศักยภาพในการบริหารกองทุนรวมของบริษัทจัดการลงทุน
  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (Market Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากที่กองทุนรวมนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง อันมีสาเหตุมาจากสภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการคาดการณ์ของผู้ลงทุนเอง
  • ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่กองทุนรวมนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งไม่สามารถขายได้ หรือขายได้แต่ไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ
  • ความเสี่ยงในความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของผู้ประกัน (เฉพาะกองทุนรวมแบบมีประกัน)
  • แนวทางในการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง (ถ้ามี)
  • ตารางแสดงการเปรียบเทียบความเสี่ยง และผลตอบแทนกับกองทุนรวมประเภทอื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นทุนของการลงทุนในกองทุนรวม โดยดูจากตารางแสดงค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหน่วยลงทุน
  • คำเตือนและข้อแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน เช่น "ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน" เป็นต้น
  • วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน ต้องตรวจสอบให้ดีว่าหนังสือชี้ชวนที่คุณอ่านอยู่นั้นเป็นข้อมูลที่ตีพิมพ์ล่าสุด

1.2 ส่วนข้อมูลโครงการ

     จะระบุรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวกับโครงการลงทุนนั้นๆ ทั้งนี้บริษัทจัดการการลงทุนต้องจัดให้มีหนังสือชี้ชวนส่วนนี้ไว้เพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้ลงทุนเมื่อผู้ลงทุนนั้นร้องขอ โดยเนื้อหาส่วนนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
  1. หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการลงทุนรวมถึงสิทธิประโยชน์ของผุ้ถือหน่วยลงทุน
  2. ประเภทหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุน และอัตราส่วนในการลงทุน
  3. เงื่อนไขเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมถึงสถาบันที่เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนรวม
  4. ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการบริหารกองทุนรวมของบริษัทจัดการลงทุน
  5. วิธีวัดผลการดำเนินงานตามมาตราฐานที่สมาคมบริษัทจัดการกำหนด

2.เลือกบริษัทจัดการที่เข้าใจคุณ

     ในการเลือกลงทุนกับบริษัทจัดการลงทุนใดๆ ผู้ลงทุนควรพิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้
  • พื้นฐานของบริษัทจัดการ โดยพิจารณาจาก ประวัติความเป็นมา ผู้ถือหุ้น งบการเงิน ฐานลูกค้า (ทั้งบุคคล และสถาบัน) และมุลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการลงทุน
  • ประเภทและบริการที่นำเสนอ โดยพิจารณาว่า มีบริการจัดการลงทุนครบทุกประเภท หรือบางประเภท ทั้งนี้บริษัทจัดการลงทุนประเภทแรกมักจะให้ความสะดวกแก่ผู้ลงทุนในการสับเปลี่ยนโยกย้ายการลงทุนได้มากกว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะการลงทุนขึ้นในขณะที่บริษัทจัดการลงทุนประเภทหลังจะมีความชำนาญในการลงทุนเฉพาะด้านมากกว่า
  • ปรัชญาบริษัท ความชำนาญในการลงทุน และแนวทางปฎิบัติ โดยพิจารณาจากปรัชญาในการลงทุนเป็นหลัก ส่วนใหญ่บริษัทจัดการลงทุนที่เน้นลงทุนในเชิงรุก มักจะบริหารการลงทุนได้ดีในช่วงตลาดขาขึ้น ในขณะที่บริษัทจัดการลงทุนที่เน้นลงทุนเชิงรับมักจะบริหารปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ดีกว่าในช่วงตลาดขาลง นอกจากนี้สิ่งที่ผู้ลงทุนยังต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็คือ วินัย และจรรยาบรรณของบริษัทจัดการลงทุน
  • สถานที่ทำการซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสะดวกของผุ้ลงทุนในการส่งคำสั่งซื้อขาย หรือสับเปลี่ยนกองทุนรวม ทั้งนี้บริษัทจัดการกองทุนที่มีเครือข่ายตัวแทนสนับสนุนการขายหรือมีระบบอิเล็คโทรนิคส์ย่อมสร้างความสะดวกให่แก่ผู้ลงทุนมากกว่า

3.เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม

     การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ผู้ลงทุนสามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมนั้น หรืออาจเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่เหมือนกันในช่วงเวลาเดียวกัน หรืออาจเปรียบเทียบกับดัชนีมาตราฐาน เช่น ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ก็ได้
ข้อสังเกตุ ผู้ลงทุนหลายท่านนิยมใช้ข้อมูลมูลค่าต่อหน่วยลงทุน เพื่อพิจารณาเลือกสรรหากองทุนรวมที่เหมาพสมกับตน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มูลค่าต่อหน่วยลงทุนนั้นไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของหน่วยลงทุนเลย เพียงแต่บอกว่า ณ ขณะนั้นหน่วยลงทุนมีมูลค่าเท่าใด แต่อัตราการเติบโตของมูลค่าต่อหน่วยการลงทุนต่างหาก ที่เป็นผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับและเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม
     อย่างไรก็ดี หากต้องการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานในแง่ของผลตอบแทน ก็สาารถพิจารณาได้จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยที่เปลี่ยนแปลงไปต่อมูลค่าที่ลงทุนแรกเริ่ม โดยพิจารณาเป็นรายปี เพราะชี้ให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในระยะยาวนั้นเอง นอกจากนี้สิ่งที่คุณต้องระวังเมื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานของกองทุนรวมก็คือ ผลการดำเนินงานในอดีตเป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ไม่ได้เป็นสิ่งรับประกันผลงานในอนาคตของกองทุนรวมนั้นแต่อย่างใด
     อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในแง่ผลตอบแทนอย่างเดียวโดยไม่พิจารณาถึงความเสี่ยงคงเป็นการตัดสินใจที่ไม่มีประสิทธิภาพนัก ดังนั้น "Sharpe Ratio" จึงถูกคิดค้นขึ้น เพื่อพิจารณาหาผลตอบแทนที่ปรับด้วยค่าความเสี่ยง (Risk-adjusted Return) แล้ว โดยมรสูตรดังนี้
     จากสูตรข้างต้น สามารถตีความว่าได้ว่า การลงทุนในกองทุนรวมนั้นควนให้ผลตอบแทนในระดับที่เกอนกว่าอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงในอัตราเท่าใดต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยงนั้นเอง ถ้ากองทุนใดมีอัตราส่วนสูงกว่าแสดงว่าผู้จัดการกองทุนนั้นบริหารจัดการกองทุนรวมได้ดีกว่า
     สำหรับข้อดีของการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมด้วยวิธีนี้ ก็คือ
  • อัตราส่วนที่คำนวณได้เป็นอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยค่าความเสี่ยงแล้ว
  • ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนได้ง่าย เพียงดูว่ากองทุนรวมไหนมีอัตราส่วนของ Sharpe สูง หรือมีค่าเป็นบวกมากกว่ากองทุนรวมอื่น
  • การวัดผลการดำเนินงานด้วยวิธีนี้ยังสามารถทำได้โดยไม่จำกัดประเภทของกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์

4.ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็สำคัญ

     ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในกองทุนรวม ถือเป็นต้นทุนของการลงทุนซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนพึงได้รับ โดยสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
  1. ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม แต่ไม่ได้เรียกเก็บจากผู้ลงทุนโดยตรง อันได้แก่ ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนายทะเบียน (Registrar Fee) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สามารถเรียกเก็บจากกองทุนรวมได้
  2. ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจถูกเรียกเก็บหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับ นโยบายของแต่ละโครงการลงทุน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้แก่ ค่าธรรมเนียม การขายหน่วยลงทุน (Front-end/Front-load Fee) ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Back-end/Back-load Fee) และค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แก่โบรกเกอร์ (Brokerage Fee) สำหรับกรณีที่ทำการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
     สำหรับอัตราส่วนทางการเงินที่ใช่สำหรับวัดค่าใช้จ่าย หรือสัดส่วน การใช้จ่ายของกองทุนรวม เรียกว่า "ExpenseRatio" หรืออัตราส่วนของ ค่าใช้จ่ายรวมต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิถัวเฉลี่ย ทั้งนี้ผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับจะเท่ากับรายได้ทั้งหมดของกองทุนรวม หักออกด้วย Expense Ratio ตัวนี้เอง เพราะฉะนั้น Expense Ratio ยิ่งต่ำจึงยิ่งดี
     นอกจากนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ยังได้กำหนดให้บริษัทจัดการลงทุนต้องแสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวมที่เกิดขึ้นในหนังสือ ชี้ชวนทุกรอบปีบัญชี ผู้ลงทุนจึงควรเปรียบเทียบว่ากองทุนรวมที่ตนลงทุนอยู่นั้น มีค่าใช้จ่ายสูงหรือต่ำกว่ากองทุนรวมอื่นหรือค่าเฉลี่ยของอุตสหกรรมหรือไม่

จะเริ่มต้นซื้อขายหน่วยลงทุนอย่างไรดี

     เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้วว่าจะลงทุนในกองทุนรวมประเภทไหน คุณสามารถ เปิดบัญชี ด้วยวงเงินขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทจัดการลงทุนแต่ละแห่ง เพื่อขอข้อมูลและหนังสือชี้ชวนมาศึกษาพิจารณาเองก่อนลงทุนทั้งนี้ภายหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป จะมีการปรับโครงสร้างใบอนุญาตผู้ทำหน้าที่ติดต่อผู้ลงทุน โดยตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายระดับหนึ่ง  และระดับสอง จะเปลี่ยนเป็น "ผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน (ผู้ขายหลักทรัพย์)" ซึ่งสามารถให้คำแนะนำการลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท โดยมีข้อยกเว้น เพียงตราสารอนุพันธ์เท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  1. ผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก คือ บุคคลที่ทำหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือจัดทำบทวิเคราะห์ รวมทั้งสามารถปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้ขายได้ด้วย ซึ่งแล้วแต่จะได้รับมอบหมายจากต้นสังกัด
  2. ผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ติดต่อ ชักชวน วางแผนการลงทุนหรือให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุน โดยอาศัยข้อมูลที่บริษัทจัดทำขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: